การขออนุญาตเปิดปั๊มขนาดเล็กที่ถูกต้อง การขออนุญาตเปิดปั๊มขนาดเล็กที่ถูกต้อง ตามกฎหมายใหม่ การขอเป็นผู้ประกอบกิจการประเภทที่ 2 ตามแบบ ธพ.ป.1

การขออนุญาตเปิดปั๊มขนาดเล็กที่ถูกต้อง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  คุณเสกสันต์ : 087-676-5170

ตามหนังสือ กรมพลังงานที่ พน 0407/9096 ลง 29 ส.ค.2559 ระบุ ดังนี้.-

อนึ่ง การประกอบกิจการน้ำมันโดยตู้จ่ายน้ำมันชนิดหยอดเหรียญและสอดธนบัตร ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  1. ผู้ประกอบกิจการจะต้องแจ้งประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ตามแบบ ธพ.ป.1 [ ดาวน์โหลดเอกสาร ธพ.ป.1 ] ต่อกรมธุรกิจและพลังงานในกรณีที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือแจ้งต่อสำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นแล้วแต่กรณี ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้
  2. ผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ต่อกรมธุรกิจพลังงานในกรณีอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือยื่นที่สำนักงานพลังงานจังหวัด ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่นแล้วแต่กรณี ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้
  3. ตู้จ่ายน้ำมัน ต้องตั้งภายในเขตของสถานีบริการน้ำมันประเภท ง ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 กล่าวคือ ตู้น้ำมันจะต้องห่างจากอาคารเตาไฟหรือที่ทำการหุงต้ม และแนวเขตสถานีบริการ อย่างน้อย 3 เมตร โดยรอบ ต้องมีทรายปริมาณไม่น้อยกว่า 200 ลิตร เก็บไว้บริเวณไกล้เคียงกับถังน้ำมัน และสามารถนำมาใช้งานได้สะดวกตลอดเวลา และจะต้องมีถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง หรือน้ำยาดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.8 กิโลกรัม และเป็นชนิดที่ใช้ดับเพลิงอันเกิดจากน้ำมันโดยเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ถัง เพื่อเตรียมไว้สำหรับดับเพลิง และผุ้ประกอบกิจการจะต้องเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่ตั้งสถานีบริการ และจะต้องไม่อยู่ในเขตห้ามประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง ในระหว่างประกอบกิจการจะต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย และแนะนำให้ลูกค้าของท่านให้ตระหนักถึงมาตรการด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม

**** สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ธพ.ป.2 [ ดาวน์โหลดเอกสาร ธพ.ป.2 ] ให้กับผู้รับแจ้ง

ซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวง : กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2556  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่  27 มีนาคม 2556 ดาวน์โหลดกฎกระทรวง ] สรุป ตั้งแต่  27 มี.ค.56 เป็นต้นมา ผู้ประกอบการจะต้องยื่นแจ้งประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ตามแบบ ธพ.ป.1

กฎกระทรวงว่าด้วยการแจ้งประกอบกิจการควบคุม

เอกสารที่จำเป็น

ส่วนที่ 1 เอกสารของตู้

1.ใบรับรองจากสำนักงานชั่งตวงวัด

ใบรับรองจากสำนักงานชั่งตวงวัด

2.ใบรับรองมาตรฐานจากกรมพลังงาน

ใบรับรองมาตรฐานจากกรมพลังงาน

ส่วนที่่ 2 เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอกับทาง อบต. หรือ เทศบาล

1.เอกสาร ธพ.ป.1ดาวน์โหลด
2.สำเนาบัตรประชาชน (เจ้าของตู้)
3.สำเนาฉโนดที่ดินหรือใบแสดงสิทธิในที่ดิน
4.สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน (ใช้ในกรณีที่เจ้าของตู้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน)
5.หนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดินในการประกอบกิจการน้ำมัน(ถ้าไม่มีฉโนด)
6.รูปถ่ายตู้น้ำมัน
7.แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ประกอบกิจการ
8.แผนผังการติดตั้งตัวตู้น้ำมันหยอดเหรียญ
9.หนังสือมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของตู้ไม่ได้ไปดำเนินเอกสารเอง)
10.สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของตู้ไม่ได้ไปดำเนินเอกสารเอง)
*คำขอจดทะเบียนผู้ค้าน้ำมัน มาตรา11 (นพ.103) ( ยื่นที่พลังงานจังหวัด )ดาวน์โหลด

*** “สำหรับกฎหมายใหม่นี้บังคับให้ บริษัทผู้ผลิตจะต้องมีใบกรมพลังงานฯ เจ้าของร้านที่ซื้อตู้น้ำมันไปจึงจะสามารถขออนุญาติจากเทศบาลและกรมพลังงานในการจำหน่าย น้ำมันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ ถ้าไม่มีแล้ว หากมีเจ้าหน้าที่มาตรวจพบงานก็จะเข้าเจ้าของร้านได้ครับ”

ตู้น้ำมันมาตรฐานใหม่2020

ตัวอย่างเอกสารการขออนุญาติเปิดปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก ที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง ใบแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (แบบ ธพ.ป.1)

ใบแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (แบบ ธพ.ป.1) หน้าที่ 1

ใบแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (แบบ ธพ.ป.1) หน้าที่ 2

ใบแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (แบบ ธพ.ป.1) หน้าที่ 3

ใบแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (แบบ ธพ.ป.1) หน้าที่ 4

ตัวอย่าง แบบใบรับแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (ธพ.ป.2)

ใบรับแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (ธพ.ป.2) หน้าที่ 1

ใบรับแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (ธพ.ป.2) หน้าที่ 2

[ ตัวอย่างการกรอก  แบบ ธพ.ป.1 และ ธพ.ป.2 ]

วิธีการยื่นเอกสาร

ขั้นตอนที่ 1

  1. จัดเตรียมเอกสาร 4 ชุด

2.นำเอกสารที่ 1 ชุด มายื่นที่ กองช่างเทศบาล/อบต. ที่เราจะติดตั้ง เจ้าหน้าที่จะออกใบแจ้ง (ธพ.ป.1)ให้

3.เจ้าหน้าที่จาก เทศบาล/อบต.  และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะมาตรวจสอบพื้นที่

4.เมื่อผลการตรวจสอบผ่านแล้วก็จะออกใบ ธพ.ป.2(ใบรับแจ้ง)ให้

ขั้นตอนที่2

  1. ถ่ายเอกสาร ธพ.ป.2 และ เอกสารที่ ชุดที่ 2 ไว้ไปยื่นขอจดทะเบียนการค้า (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ที่ อบต.

2.เมื่อ ได้รับใบจดทะเบียนการค้าแล้วถ่ายเอกสาร ให้ถ่ายเอกสาร ใบ ธพ.ป.2 และ ถ่ายเอกสารใบจดทะเบียนการค้า เอกสาร ชุดที่ 3 ไปยื่นที่กรมสาธารณสุขเพื่อชำระค่าภาษี 500 บาท

ขั้นตอนที่ 3

1.นำใบจดทะเบียนการค้า , ธพ.ป.2 และ เอกสาร ชุดที่ 4 ไปยื่นที่สรรพสามิตร เพื่อแจ้งขึ้นทะเบียนในการประกอบกิจการน้ำมันหยอดเหรียญ

2. รอรับใบอนุญาต

ขั้นตอนที่ 4

1.ได้รับใบรับเเจ้ง ธพ.ป.2 + หนังสือสำคัญรับรองประจำเครื่องตู้น้ำมัน (เอกสาร ชว.105 คือ หนังสือที่สำนักงานชั่งตวงวัดมาทดสอบตู้น้ำมันว่าจ่ายน้ำมันได้เที่ยงตรง ** ได้รับในวันที่นำตู้มาส่ง ** )

2. นำไปยื่นเสียภาษีหัวจ่าย  2,100  บาท ที่สำนักงานพลังงานจังหวัด เพื่อ รับเอกสารมาตรา 11 เป็นผู้เสียภาษีหัวจ่าย เรียบร้อย

###  คำถามที่เจอบ่อยๆ ###

ถาม : ที่บ้านเปิดร้านขายของชำ สามารถตั้งตู้น้ำมันได้หรือไม่

ตอบ :  ไม่ได้ครับ ถ้าขายเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพราะกฎหมายที่บังคับการขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮล์เป็นกฎหมายกระทรวงสาธารณสุข โดยข้อกฎหมายที่บังคับดังกล่าวตามมาตรา 27 และ 31 ของ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 กำหนดห้ามขายและห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่และบริเวณ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และหากไม่ปฎิบัติตามจะมีความผิด ตามมาตรา 39 และมาตรา 42 คือระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในกรณีของปั๊มหลอดแก้วมือหมุนหรือตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ถือเป็นสถานีบริการน้ำมันประเภท ง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง  จึงทำให้สถานที่หรือบริเวณสถานีบริการดังกล่าวถูกห้ามขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   แต่ถ้าไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถขายได้ครับ

พื้นที่สถานีบริการน้ำมันปรระเภท ง(ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ)

ถาม : ที่สาธารณะสามารถตั้งตู้น้ำมันหยอดเหรียญได้หรือไม่ ลูกค้าโครงการฯ ชอบถาม

ตอบ : ถ้าหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลอนุญาต ซึ่งในชนบทส่วนใหญ่จะเป็นของ อบต. หรือกรมทางหลวง เป็นต้น  ก็ลองหาติดต่อเพื่อขอใช้สถานที่หรือเช่า ได้เอกสารมาแนบก็สามารถนำไปยื่นที่กรมพลังงาน หรือพลังงานจังหวัดได้ครับ

ที่อยู่ร้าน : Idea Service/ไอเดียเซอร์วิส
141 หมู่ที่ 3 บ้านหนองแวง ต.เกษตรวิสัย
อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด 45150
เบอร์โทรศัพท์ : 0876765170
Line ID : @sakecute และ 0876765170

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น